การย่อยอาหารของสุกร
ระบบย่อยอาหารสุกร (Digestive system) เป็นพวกกระเพาะเดี่ยว (Simple stomach) ย่อยอาหารเชิงกลโดยการบดเคี้ยวด้วยฟัน และย่อยด้วยสารชีวเคมีหรือ น้ำย่อย (Digestive Enzyme) องค์ประกอบของระบบย่อยอาหาร มีดังนี้
ปาก (Mouth) สุกรมีจมูกที่ สามารถดมกลิ่นได้ดีมาก และแข็งแรงพิเศษ ใช้ในการขุดคุ้ยหาอาหาร มีฟัน ทั้งด้านบนและด้านล่าง บดเคี้ยวอาหารละเอียดมาก และมีต่อมน้ำลาย(Saliva glands) 5 ต่อม ได้แก่ บริเวณข้างแก้ม (Parotid glands) 2 ต่อม บริเวณใต้ลิ้น (Sublingual gland) 1 ต่อม และข้างกรามล่าง (Sub maxillary glands) 2 ต่อม น้ำลายมีหน้าที่ ทำให้อาหารเปียก กลืนง่าย และยังน้ำย่อย Amylase ช่วยแป้งให้เป็นน้ำตาลด้วย
หลอดอาหาร (Esophagus) เป็นทางผ่านอาหาร ไม่มีการย่อย กลืนด้วยกล้ามเนื้อ ส่งผ่านอาหารเป็นคลื่นเรียก Peristalsis
กระเพาะอาหาร (Stomach) มีความจุ 3-5 ลิตร ทำหน้าที่ย่อยอาหารในขั้นต้น ให้เป็นโมเลกุลเล็กลง ผนังกระเพาะอาหารแต่ละส่วนมีหน้าที่ในการผลิตน้ำย่อย (Gastric juice) และของเหลวที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำให้ภายในกระเพาะอาหารมีสภาพเป็นกรด แต่ละส่วนมีลักษณะดังนี้
1. ส่วนต่อกับหลอดอาหาร (Esophageal region) เป็นเยื่อบุชั้นเดียว ไม่มีการผลิตน้ำย่อย
2. ส่วนตอนกลาง (Cardiac gland region) เป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ตอนกลางของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือก (mucus)
3. ส่วนตอนล่าง (Fundic gland region) เป็นส่วนด้านล่าง ทำหน้าที่ผลิตทั้งน้ำย่อยหลายชนิด และกรดเกลือ (Hcl)
4. ส่วนต่อกับลำไส้เล็ก (Pyloric gland region) เป็นส่วนด้านล่างติดกับลำไส้เล็ก มีพื้นที่เพียงเล็กน้อย ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยหลายชนิดและ ฮอร์โมนกาสตริน (Gastrin Hormone) ซึ่งกระตุ้นการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและกระตุ้นการหลั่งของกรดเกลือ
ลำไส้เล็ก (Small Intestine) มีความยาวถึง 16 เมตร และมีความจุ 13 ลิตร หรือมีขนาดเท่ากับ 77.87 % ของระบบย่อยอาหารทั้งหมด ทำหน้าที่ ย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กจนสามารถซึมผ่านผนังเส้นเลือดได้ และทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารมากที่สุด มี 3 ส่วน
1. ส่วนต้น (Duodenum)
2. ส่วนกลาง (Jejunum)
3. ส่วนปลาย (Ileum)
ลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก เพราะมีการผลิตน้ำย่อยและฮอร์โมนหลายชนิด อีกทั้งมีท่อจากจากตับอ่อน (Pancreatic Duct) นำน้ำย่อยหลายชนิดจากตับอ่อน และท่อจากถุงน้ำดี (Common Bile Duct) นำน้ำดีจากถุงน้ำดี มาย่อยอาหารในลำไส้เล็ก บริเวณนี้เรียก Diverticulum duodeni ส่วนกลางและส่วนท้ายเป็นส่วนที่มีการย่อยอาหารให้ละเอียดขึ้น และดูดซึมสารอาหารหลายชนิด
5.ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) ต่อจากลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ลำไส้ใหญ่ประกอบด้วยส่วนไส้ติ่ง (Cecum) ซึ่งเป็นท่อปลายตัน ลำไส้ใหญ่ส่วนขยาย (Spiral Colon ) ซึ่งมีลักษณะเป็นลอน และ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่มีลักษณะแคบเล็ก (Small Colon ) ทำหน้าที่ดูดซึม น้ำกลับคืนเข้าสู่ร่างกาย ไม่มีการสร้างน้ำย่อยเพื่อย่อยอาหาร แต่มีการย่อยอาหารโดยจุลินทรีย์ เล็กน้อย และผลิต Vitamin B12 เล็กน้อย
Pig digestive system
สมาชิก
นายเขมณุพงศ์ นวลนิ่ม เลขที่ 2
นายปิติภัทร เพชรชัยทอง เลขที่ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น