ระบบย่อยอาหารของวัว(Cow digestive system)
อาหารที่วัวกินเข้าไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารหยาบหรืออาหารข้น จะต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหาร เพื่อสลายอาหารให้เป็นโมเลกุลเล็ก ๆ เพื่อร่างกายสามรถดูดซึมสารอาหารผ่านกระเพาะหรือลำไส้ อาหารที่กินเข้าไปจึงเกิดประโยชน์และนำมาใช้สร้างเนื้อและนมได้
ระบบย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับอาหาร เช่น การจับอาหาร การเคี้ยวบด การย่อย การดูดซึมอาหาร และการขับถ่ายกากอาหาร ซึ่งสามารถแยกระบบย่อยอาหารของวัวได้เป็นส่วนประกอบใหญ่ ๆ ได้ดังนี้คือ
1.ช่องปาก (Oral cavity)
2.หลอดอาหาร (Esophagus)
3.กระเพาะอาหาร (Stomach)
4.สำไล้เล็ก (Small intestine)
5.ลำไส้ใหญ่ (Large intestine)
6.ไส้ตรง (Rectum)
7.ทวารหนัก (Anus)
ช่องปาก (Oral cavity)
อวัยวะที่สำคัญภายในช่องปาก ประกอบด้วยริมฝีปาก ลิ้น ฟัน ต่อมน้ำลาย ซึ่งทำหน้าที่ในการจับอาหารเข้าปาก บดอาหาร พร้อมทั้งทำให้อาหารเป็นก้อน และส่งผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร
-ริมฝีปาก (Lips) มักหนาและเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ ทำหน้าที่ในการดูดน้ำ
-ลิ้น(Tongue) ทำหน้าที่ในการจับอาหารและส่งเข้าปากลิ้นโคจึงมีขนาดใหญ่และแข็งแรงนอกจากนี้ลิ้น ยังมีตุ่มรับรส(Testebud)ซึ่งมีเส้นประสาทในการรับรสมาเลี้ยง ทำให้ลิ้นสามารถรับรสชาติของอาหารที่กินได้
-ฟัน (Teeth) ทำหน้าที่ในการบดอาหารให้มีขนาดเล็กลง ฟันของวัวมี 2 ชุด ชุดแรกงอกขึ้นมาในขณะที่เป็นลูกวัวเรียกว่าฟันน้ำนม ชุดที่ 2งอกขึ้นมาตั้งแต่โคอายุได้ประมาณ 2 ปี เรียกว่าฟันแท้ ฟันน้ำนมของวัวมี 20 ซี่ ประกอบด้วย
-ฟันหน้าด้านล่าง 4 คู่ หรือ 8 ซี่ ไม่มีฟันหน้าด้านบน
-ฟันกราม หน้า 6 คู่ คือ ฟันกรามหน้าด้านบน 3 คู่ ฟันกรามหน้าด้านล่าง 3 คู่ เป็น 12 ซี่
เมื่อวัวโตขึ้นอายุได้ประมาณ 2 ปี ฟันน้ำนมจะทยอยหลุดออกไป และฟันชุดที่ 2 จะงอกขึ้นมาแทนที่ เรียกว่าฟันแท้ ซึ่งมี 32 ซี่ ประกอบด้วย
-ฟันหน้าด้านล่าง 4 คู่ หรือ 8 ซี่ ไม่มีฟันหน้าบน ไม่มีเขี้ยว
-ฟันกราม หน้า 6 คู่ คือ ฟันกรามหน้าด้านบน 3 คู่ ฟันกรามหน้าด้านล่าง 3 คู่ เป็น 12 ซี่
-ฟันกรามหลัง 6 คู่ คือ ฟันกรามหลังด้านบน 3 คู่ ฟันกรามหลังด้านล่าง 3 คู่ เป็น 12 ซี่
การงอกของฟันวัว จะงอกจากฟันหน้าคู่กลางก่อน และค่อย ๆ งอกตามกันไปทางด้านข้างจนถึงฟันกราม นอกจากวัวจะใช้ประโยชน์จากฟันในการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ผู้เลี้ยงยังสามารถใช้ประโยชน์จากฟันของโคในการประมาณอายุโคได้ โดยปกติ เมื่อโคคลอดออกมาจากท้องแม่ ฟันหน้าด้านล่างซึ่งเป็นน้ำนมคู่ที่ 1 จะโผล่พ้นเหงือกออกมาเล็กน้อย และภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน ฟันหน้าด้านล่างซึ่งเป็นฟันน้ำนมทั้ง 4 คู่จะงอกอย่างสมบูรณ์ จากนั้นฟันน้ำนมคู่อื่น ๆ จะงอกตามออกมา ฟันน้ำนมจะคงอยู่เช่นนี้ จนโคอายุประมาณ 2 ปี
เมื่อวัวอายุได้ประมาณ 2 ปี ฟันหน้าซึ่งเป็นฟันน้ำนมคู่ที่ 1 ก็จะหลุดและฟันหน้าซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่ 1ก็จะงอกขึ้นมาแทนที่ เมื่ออายุได้ประมาณ 3ปี ฟันหน้าซึ่งเป็นฟันน้ำนมคู่ที่ 2 ก็จะหลุดและฟันหน้าซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่ 2 ก็จะงอกขึ้นมาแทนที่ เมื่ออายุได้ประมาณ 4 ปี ฟันหน้าซึ่งเป็นฟันน้ำนมคู่ที่ 3 ก็จะหลุดและฟันหน้าซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่ 3 ก็จะงอกขึ้นมาแทนที่ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 ปี ฟันหน้าซึ่งเป็นฟันน้ำนมคู่ที่ 4 ก็จะหลุดและฟันหน้าซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่ 4 ก็จะงอกขึ้นมาแทนที่
ดังนั้นในการประมาณอายุวัว ระหว่างอายุ 2-5 ปี สามารถดูจากจำนวนฟันหน้าด้านล่าง ซึ่งเป็นฟันแท้ โดยนับจำนวนคู่ของฟันแท้และบวกอีก 1 ก็จะเป็นอายุของวัว เช่น พบฟันแท้ 2 คู่ คู่ที่ 3 และ4 ยังเป็นฟันน้ำนม ก็คือวัวอายุได้ 2+1 = 3 ปี หรือพบฟันแท้ 3 คู่ คู่ที่ 4 ยังเป็นฟันน้ำนม ก็คือวัวอายุได้ 3+1 = 4 ปี เป็นต้น แต่เมื่อวัวอายุเกิน 5 ปีไปแล้ว การประมาณอายุจะดูได้จากการสึกของฟัน ซึ่งสังเกตได้ไม่แน่นอนนัก ในการประมาณอายุสิ่งที่ควรระวังคือ จะต้องแยกฟันแท้ออกจากฟันน้ำนมให้ได้
-ต่อมน้ำลาย
ต่อมน้ำลายของวัว ที่สำคัญมีอยู่ 3 ต่อม ได้แก่ต่อมพาโรติด(Parotid),ต่อมแมนดิบูล่า(Mandibular)
และต่อมใต้ลิ้น(Sublingual) ต่อมน้ำลายทั้ง 3 ต่อม มีหน้าที่ผลิตน้ำลาย (Saliva) ซึ่งมีลักษณะใสและขุ่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 8.2 วัวสามารถผลิตน้ำลายได้มากถึงวันละ 40-80 ลิตร การผลิตน้ำลายจะเกิดมากหรือน้อย จะขึ้นกับชนิดของอาหารที่กิน ถ้าอาหารมีความแห้งมาก น้ำลายจะถูกผลิตออกมามาก เช่น วัวที่กินหญ้าแห้ง จะหลั่งน้ำลายออกมามากกว่าวัวที่กินหญ้าสด เป็นต้น ในระหว่างเคี้ยวเอื้อง น้ำลายจะถูกขับออกมาผสมกับอาหาร ช่วยทำให้อาหารเป็นก้อน ช่วยหล่อลื่นอาหารเวลากลืน นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วยลดความเป็นกรดที่เกิดจากการย่อยในกระเพาะ รูเมน(Rumen) เนื่องจากในการกลืนอาหาร วัวจะกลืนน้ำลายลงไปในกระเพาะด้วย จากการที่น้ำลายมี ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 8.2 จึงช่วยลดความเป็นกรดจากการย่อยในกระเพาะรูเมนได้เป็นอย่างดี
หลอดอาหาร (Esophagus)
หลอดอาหาร (Esophagus) ของวัวยาวประมาณ 90-105 เซนติเมตร มีหน้าที่ช่วยในการกลืนอาหารลงสู่กระเพาะอาหารส่วนรูเมน และช่วยในการสำรอกอาหารจากกระเพาะส่วนรูเมน ขึ้นมาในช่องปากเพื่อทำการเคี้ยวใหม่ที่เรียกว่า เคี้ยวเอื้อง พร้อมทั้งช่วยในการเรอ เพื่อขับแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร (Stomach)
กระเพาะอาหาร (Stomach) ของวัวเป็นแบบกระเพาะรวม (Compound stomach) มีขนาดใหญ่ประมาณ 3 ใน 4 ของช่องท้อง มักจะอยู่ค่อนไปทางซีกซ้ายของช่องท้อง กระเพาะอาหารของวัวประกอบ ด้วย 4 ส่วน คือ รูเมน(Rumen) เรตติคูลั่ม(Reticulum)โอมาซั่ม(Omasum)และอะโบมาซั่ม(Abomasum)
-รูเมนหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ขอบกระด้ง หรือ ผ้าขี้ริ้ว หรือกระเพาะหมัก เป็นกระเพาะที่มีขนาดใหญ่ เป็นกระเพาะส่วนแรกของวัว มีขนาดใหญ่มาก กินเนื้อที่ประมาณ 3 ใน 4 ของช่องท้อง ทอดตัวอยู่ทางด้านซ้ายของผนังช่องท้อง สำหรับใช้พักและหมักอาหารจำพวกหญ้า ตัวกระเพาะแบ่งออกได้เป็นหลายตอนเพื่อทำหน้าที่ในการบีบและขยาย ซึ่งมีผลทำให้เกิดการไหลเวียนของอาหารที่อยู่ในกระเพาะส่วนนี้ นอกจากนี้ ผนังด้านในของกระเพาะรูเมน ยังมีส่วนที่คล้ายขนยื่นออกมา เรียกว่าแปปพิลี่(Pappilae) ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของกระเพาะ กระเพาะรูเมนนี้ มีความจุประมาณ 80 % ของกระเพาะทั้งหมด หลอดอาหารจะมาเชื่อมต่อกับกระเพาะตรงรอยต่อของ กระเพาะรูเมนและเรตติคูลัม
-เรตติคูลัมหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่ากระเพาะรังผึ้ง อยู่ส่วนหน้าสุดและมีขนาดเล็ก กลม ด้านหัวและท้ายจะแบนเล็กน้อย ตอนบนของกระเพาะ จะมีส่วนที่ห่อตัวได้ เรียกว่าอีโซฟาเจียลกรูบ(Esophageal groove) ซึ่งจะใช้ประโยชน์เมื่อลูกโคดูดนม น้ำนมจะผ่านอีโซฟาเจียลกรูบไปสู่กระเพาะส่วนอะโบมาซัมได้ โดยไม่ต้องเข้าสู่กระเพาะอื่น ๆ โดยการห่อตัวของอีโซฟาเจียลกรูบ
เรตติคูลัมอยู่ระหว่างกระดูกซี่โครงซี่ที่ 7-11 ด้านหน้ามักจะอยู่ชิดปอดกับหัวใจ โดยมีกระบังลมคั่นไว้ ดังนั้นเมื่อโคกินสิ่งแปลกปลอมเช่น ลวด หรือตะปู เข้าไปในกระเพาะ ลวดหรือตะปู มักจะไปค้างที่กระเพาะส่วนนี้ เมื่อลวดหรือระปูแทงผ่านกระเพาะ มักจะไปถูกถุงหุ้มหัวใจ เนื่องจากกระเพาะส่วนนี้อยู่ใกล้หัวใจนั่นเอง กระเพาะส่วนนี้ มีความจุประมาณ 5 % ของกระเพาะทั้งหมด
-โอมาซัมหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่ากระเพาะสามสิบกลีบ รูปร่างคล้ายรูปไข่ ภายในเป็นกลีบหลายกลีบซ้อนกัน กลีบเหล่านี้จะช่วยในการกระจายอาหาร กระเพาะส่วนนี้อยู่ทางด้านขวาของตัววัว ระหว่างซี่โครงซี่ที่ 9-10 กระเพาะส่วนนี้ มีความจุประมาณ 7 % ของกระเพาะทั้งหมด
-อะโบมาซัม หรือกระเพาะแท้ หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าไส้เปรียว เป็นกระเพาะที่มีน้ำย่อยเพื่อใช้ในการย่อยอาหาร เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารของคน ส่วนปลายของกระเพาะนี้ จะต่อกับลำไส้เล็ก กระเพาะโอมาซัม มีความจุประมาณ 8 % ของกระเพาะทั้งหมด
สำไล้เล็ก (Small intestine)
สำไล้เล็ก (Small intestine) ของวัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ยประมาณ 5-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 เมตร แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือดูโอดินัม(Duodenum) , เจจูนัม(Jejunum) และอีเลี่ยม(Ileum)
สำไส้เล็กมีหน้าที่ในการย่อยอาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์ โดยเอ็นไซม์ที่สร้างจากตับอ่อน และสร้างจากลำไส้เล็กเอง พร้อมทั้งน้ำดีที่สร้างจากตับ โดยมีท่อมาเปิดที่ลำไส้เล็กส่วนต้น นอกจากนี้ ลำไส้เล็กยังมีหน้าที่ในการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้ว โดยผนังด้านในของลำไส้เล็กจะมีส่วนที่ยื่นอออกมาคล้ายนิ้วมือ เรียกว่าวิลไล(Villi) ช่วยในการดูดซึมอาหาร
ลำไส้ใหญ่ (Large intestine)
ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) แยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของซีคัม(Cecum) และโคลอน(Colon) ลำไส้ใหญ่มีขนาดใหญ่กว่าลำไส้เล็กแต่สั้นกว่า ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและสารอาหารบางอย่างที่ลำไส้เล็กดูดซึมยังไม่หมดกลับสู่ร่างกาย และเป็นทางขับถ่ายกากอาหารออกสู่นอกร่างกาย โดยผ่านออกทางไส้ตรง (Rectum) และทวารหนัก (Anus)
การย่อยอาหารของวัว
เมื่อวัวกินอาหาร โคจะรีบเคี้ยวอาหารเพื่อให้อาหารคลุกกับน้ำลายและรีบกลืนอาหารลงสู่กระเพาะอาหารทันที หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลาพักผ่อน วัวจะขยอกเอาอาหารที่กลืนเข้าไปแล้วนี้ ออกมาเคี้ยวใหม่ให้อาหารมีขนาดเล็กลง เรียกว่า การเคี้ยวเอื้อง (Rumination)
ดังนั้น การเคี้ยวเอื้อง (Rumination) คือ การขยอก (Regurgitation) ให้อาหารจากกระเพาะกลับเข้ามาในช่องปากเพื่อทำการเคี้ยวและคลุกเคล้ากับน้ำลายใหม่เพื่อให้อาหารมีขนาดเล็กลง โดยปกติโคจะใช้เวลาทำการเคี้ยวเอื้องวันละประมาณ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่า ซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของอาหารที่กินเข้าไป การเคี้ยวเอื้องจึงมีประโยชน์คือ ทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร จะสามารถทำการย่อยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การเคี้ยวเอื้อง ยังเป็นการกลืนน้ำลาย ซึ่งมีค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 8.2 ลงสู่กระเพาะอาหาร เป็นการช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
เมื่อวัวกลืนอาหาร อาหารจะผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะส่วนรูเมนและเรตติคูลัมจากนั้นอาหารจะถูกจัดเป็นชั้น ๆ ตามความหนาแน่นของอาหารเอง อาหารที่มีความหนาแน่นสูงจะจมอยู่ด้านล่างของกระเพาะรูเมน อาหารที่มีความหนาแน่นต่ำเช่นอาหารหยาบพวกหญ้า จะลอยขึ้น ใกล้ผิวด้านบนของรูเมน อาหารที่ลอยขึ้นนี้ จะเป็นส่วนที่ถูกขยอกออกมาเคี้ยวใหม่ เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะรูเมน อาหารจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในกระเพาะ ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย และ โปรโตซัว
-แบคทีเรีย
แบคทีเรียในกระเพาะรูเมน มีอยู่หลายชนิด จากการศึกษาพบว่ามี แบคทีเรียอยู่ในกระเพาะรูเมนถึง 63 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สร้างสปอร์ และไม่ต้องการก๊าซอ๊อกซิเจนในการเจริญเติบโต แบคทีเรียในกระเพาะรูเมนส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม ไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร เพียงแต่ปนเปื้อนจากอาหารเข้าไปในกระเพาะเท่านั้น แต่ก็มีแบคทีเรียบางพวกเหมือนกันที่ช่วยในการย่อยอาหาร เช่น Streptococcus bovis , Ruminococcus , Lactobacillus spp. เป็นต้น ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ส่วนอาหารที่เป็นพวกเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ถูกแบคทีเรียย่อยได้เหมือนกัน แต่ช้ามาก
-โปรโตซัว
โปรโตซัวที่พบในกระเพาะรูเมน ส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีขน (cilia) และบางพวกมีหนวด (flagella) ขนาดเล็ก พวกที่มีขน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ Holotrichs และ Oligotrichs โปรโตซัวส่วนใหญ่ที่อยู่ในกระเพาะรูเมน มีหน้าที่ในการย่อยพืช ความเร็วในการย่อยอาหารของจุลินทรีย์ในกระเพาะขึ้นอยู่กับอายุของพืชและใยลิกนินที่มีอยู่ในต้นพืชที่วัวกินเข้าไป ถ้าเป็นพืชอ่อนอายุน้อยมีลิกนินน้อยการย่อยจนสมบูณ์จะเกิดเร็ว แต่ถ้าเป็นพืชแก่มีลิกนินมากการย่อยจนสมบูรณ์จะเกิดได้ช้า
หน้าที่ของจุลินทรีย์ มีดังต่อไปนี้ คือ
1.ย่อยคาร์โบไฮเดรต รวมทั้งสารเยื่อใย เป็นกรดไขมันที่ระเหิดได้ (Volatile Fatty Acid , VFA) ซึ่งได้แก่ กรดน้ำส้ม (Acetic Acid) , กรดโพรไพโอนิก (Propionic acid) และกรดบิวทีริก (Buteric acid)
2.ย่อยโปรตีน เป็น เปปไทต์ , กรดอะมิโน และแอมโมเนีย
3.สร้างโปรตีนของจุลินทรีย์จากไนโตรเจน รวมทั้งคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
4.สร้างวิตะมินบี , เค และวิตะมินอื่น ๆ ยกเว้น วิตะมินเอ และอี
การย่อยคาร์โบไฮเดรตของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน
การย่อยคาร์โบไฮเดรตของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน ไม่ว่าจะเป็นการย่อยแป้ง เซลลูโลส หรือเฮมิเซลลูโลส ผลสุดท้ายจะได้ กรดไขมันที่ระเหิดได้ (Volatile Fatty Acid , VFA) ซึ่งได้แก่ กรดน้ำส้ม , กรดโพรไพโอนิก และกรดบิวทีริก และก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้อาจได้กรดแลคติก ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น กรดน้ำส้ม และ กรดโพรไพโอนิก ในที่สุด
การย่อยโปรตีนของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน
การย่อยโปรตีนของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน เป็นการย่อยสลายโซ่เปปไทต์ เป็นเปปไทต์ สั้น ๆ และสุดท้ายจะได้เป็นกรดอะมิโน แอมโมเนียและก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์
กรดอะมิโนบางส่วนที่เกิดขึ้นวัวจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย และอีกบางส่วนจุลินทรีย์จะนำไปใช้ในการเจริญขยายจำนวนของจุลินทรีย์ หรือเรียกว่าสร้างโปรตีนของจุลินทรีย์ขึ้นมาใหม่ เมื่อจุลินทรีย์ผ่านมาถึงลำไส้เล็กพร้อมกับอาหารที่ถูกย่อยแล้ว จุลินทรีย์ก็จะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนและถูกดูดซึมเข้าร่างกายโค เกิดประโยชน์อีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้สารพวกยูเรียหรือไนโตรเจนที่เกิดจากการย่อยหรือที่ปนมากับอาหาร จุลินทรีย์จะใช้เอ็นไซม์ยูรีเอส(Urease) ย่อยจนเกิดเป็นแอมโมเนีย จากนั้นจุลินทรีย์จะใช้แอมโนเนียเหล่านี้ในการเจริญและเพิ่มจำนวน หรือเรียกว่าสังเคราะห์เป็นโปรตีนของจุลินทรีย์ เมื่อจุลินทรีย์ผ่านมาถึงลำไส้เล็กพร้อมกับอาหาร ก็จะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนและถูกดูดซึมเข้าร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์อีกเช่นกัน ดังนั้น วัวจึงเป็นสัตว์ที่สามารถเปลี่ยนโปรตีนคุณภาพต่ำ เช่น ยูเรีย ไนโตรเจน หรือแอมโมเนีย ให้เป็นโปรตีนคุณภาพสูง เช่น เนื้อ นม ได้ โดยกลไกของจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร
การย่อยไขมันของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน
การย่อยไขมันของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนนั้น เริ่มจากถ้าเป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว จะถูกทำให้อิ่มตัวโดยการรวมกับไฮโดรเจนในกระเพาะรูเมน หรือที่เรียกว่าขบวนการไฮโดรจีเนชั่น(Hydrogenation) จากนั้นไขมันจะถูกย่อยสลายได้เป็นกรดไขมัน และกลีเซอรอล ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดโพรไพโอนิก ในที่สุด
การสังเคราะห์สารอื่น ๆ ในกระเพาะรูเมน
จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของวัว สามารถสร้างไวตามินได้เองหลายชนิด เช่น วิตามินบี และวิตามินเค จึงไม่ค่อยพบว่าวัวขาดวิตามินทั้ง 2 ชนิดนี้ ยกเว้นถ้าวัวขาดธาตุโคบอลท์ มักทำให้ขาดวิตามินบี 12 เนื่องจากโคบอลท์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างวิตามินบี12 ของจุลินทรีย์ นอกจากนี้ จุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารโคยังสามารถสร้างวิตามินได้อีกหลายชนิด แต่วิตามินที่จุลินทรีย์ในกระเพาะสร้างไม่ได้ ได้แก่วิตามินเอและอี จึงจำเป็นต้องเสริมวิตามินเอและอีในอาหารวัวเสมอ
การดูดซึมอาหารในกระเพาะรูเมน
สิ่งที่กระเพาะอาหารรูเมนสามารถดูดซึมได้ คือ กรดไขมันซึ่งประมาณ 80 % ถูกดูดซึมที่กระเพาะ รูเมน กรดบิวทิริก จะดูดซึมได้ดีกว่ากรดโพรไพโอนิก กรดโพรไพโอนิกถูกดูกซึมได้ดีกว่ากรดน้ำส้ม ถ้าความเป็นกรดของกระเพาะรูเมนมีมากขึ้นกรดไขมันจะถูกดูดซึมดีขึ้น นอกจากนี้กระเพาะรูเมนยังสามารถดูดซึม แอมโมเนีย กรดแลคติกไบคาร์บอเนต เกลือ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ คลอรีน และโพแทสเซี่ยมด้วย
สิ่งที่ดูดซึมผ่านกระเพาะรูเมนไม่ได้ คือ แคลเซี่ยม และอาหารที่ยังเป็นโมเลกุลใหญ่ อาหารที่ยังเป็นโมเลกุลใหญ่จะถูกย่อยสลายต่อที่กระเพาะอะโบมาซัมและลำไส้เล็ก พร้อมทั้งถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
การย่อยอาหารและการดูดซึมในกระเพาะอะโบมาซัมหรือกระเพาะจริง
กระเพาะอะโบมาซัม(Abomasum) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าไส้เปรี้ยว มีค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 3 มีเอ็นไซม์ซึ่งสามารถย่อยอาหารได้ เช่น เรนนิน(Rennin) เป็นเอ็นไซม์ที่ทำให้น้ำนมจับเป็นก้อน เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลผ่านลำไส้เล็กเร็วเกินไป สามารถถูกย่อยได้ที่ลำไส้เล็ก ซึ่งมีประโยชน์ในโคที่ยังกินนม นอกจากนี้ยังมีเอ็นไซม์เปปซิน ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนของจุลินทรีย์และโปรตีนจากอาหารข้นให้เป็นเปปไทต์และกรดอะมิโน พร้อมทั้งมีกรดเกลือ (HCl) ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต กระเพาะอาหารส่วนอะโบมาซัมนี้ดูดซึมอาหารได้น้อยมาก จนถือได้ว่าไม่มีการดูดซึมอาหาร
การย่อยและการดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็ก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ดูโอดินัมหรือสำไส้เล็กส่วนต้น เจจูนัมหรือลำไส้เล็กส่วนกลางและอีเลี่ยมหรือลำไส้เล็กส่วนปลาย น้ำย่อยจากลำไส้เล็กส่วนต้นและส่วนกลาง มักมีสภาพเป็นกลาง ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 7 ส่วนน้ำย่อยในลำไส้เล็กส่วนปลาย มักมีสภาพเป็นด่าง ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 8 อาหารที่ผ่านจากกระเพาะจะถูกย่อยสลายให้เป็นโมเลกุลเล็กลงที่ลำไส้เล็กนี้ พร้อมทั้งถูกดูดซึมไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย
น้ำย่อยในลำไส้เล็ก ได้มาจาก 3 แหล่ง คือ
1.ตับ สร้างน้ำดี และหลั่งออกมาสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ช่วยให้ไขมันแตกตัว
2.ตับอ่อน สร้างเอ็นไซม์ช่วยในการย่อย ได้แก่ ทริปซิน (Trypsin) ไคโมทริปซิน (Chymotrypsin) เปปติเดส (Peptidase) ช่วยในการย่อยโปรตีน ไลเปส (Lipase) ช่วยในการย่อยไขมัน และ อะไมเลส (Amylase) ช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรต
3.ลำไส้เล็ก สร้างเอ็นไซม์ช่วยในการย่อย ได้แก่ เปปทิเดส (Peptidase) ช่วยในการย่อยโปรตีน ไดแซกคาเลส , ซูเครส (Sucrase) , มอลเตส (Maltase) , แลคเตส (Lactase) ช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรต ไลเปส ช่วยในการย่อยไขมัน
อาหารที่ถูกย่อยแล้ว จะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เล็ก โดยเฉพาะลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) จะ ดูดซึมอาหารมากที่สุด รองลงมาคือ ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) และลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodinum) จะดูดซึมอาหารได้น้อยที่สุด แต่การย่อยอาหารจะเกิดที่ลำไส้เล็กส่วนต้นมากที่สุด รองลงมาคือส่วนกลาง และส่วนปลายตามลำดับ
การย่อยและการดูดซึมอาหารในลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือซีคัม(Cecum) และโคลอน(Colon) ลำไส้ใหญ่มีการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารน้อยมาก อาหารที่ถูกย่อยในลำไส้ใหญ่ มักเป็นการย่อยพวกเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสที่ยังหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ อาจมีย่อยโปรตีนและกรดไขมันที่ยังหลงเหลือในซีคัม แต่ส่วนใหญ่แล้ว หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ คือการดูดน้ำและเกลือแร่กลับเข้าสู่ร่างกาย อาหารที่ผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่ มักเป็นกากอาหารที่ผ่านการดูดซึมสารอาหารไปแล้ว กากอาหารที่มาถึงลำไส้ใหญ่มักเกิดการบูดเน่า ดังนั้นเมื่อโคถ่ายอุจจาระออกมาจึงมักมีกลิ่นเหม็น
ระบบย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับอาหาร เช่น การจับอาหาร การเคี้ยวบด การย่อย การดูดซึมอาหาร และการขับถ่ายกากอาหาร ซึ่งสามารถแยกระบบย่อยอาหารของวัวได้เป็นส่วนประกอบใหญ่ ๆ ได้ดังนี้คือ
1.ช่องปาก (Oral cavity)
2.หลอดอาหาร (Esophagus)
3.กระเพาะอาหาร (Stomach)
4.สำไล้เล็ก (Small intestine)
5.ลำไส้ใหญ่ (Large intestine)
6.ไส้ตรง (Rectum)
7.ทวารหนัก (Anus)
ช่องปาก (Oral cavity)
อวัยวะที่สำคัญภายในช่องปาก ประกอบด้วยริมฝีปาก ลิ้น ฟัน ต่อมน้ำลาย ซึ่งทำหน้าที่ในการจับอาหารเข้าปาก บดอาหาร พร้อมทั้งทำให้อาหารเป็นก้อน และส่งผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร
-ริมฝีปาก (Lips) มักหนาและเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ ทำหน้าที่ในการดูดน้ำ
-ลิ้น(Tongue) ทำหน้าที่ในการจับอาหารและส่งเข้าปากลิ้นโคจึงมีขนาดใหญ่และแข็งแรงนอกจากนี้ลิ้น ยังมีตุ่มรับรส(Testebud)ซึ่งมีเส้นประสาทในการรับรสมาเลี้ยง ทำให้ลิ้นสามารถรับรสชาติของอาหารที่กินได้
-ฟัน (Teeth) ทำหน้าที่ในการบดอาหารให้มีขนาดเล็กลง ฟันของวัวมี 2 ชุด ชุดแรกงอกขึ้นมาในขณะที่เป็นลูกวัวเรียกว่าฟันน้ำนม ชุดที่ 2งอกขึ้นมาตั้งแต่โคอายุได้ประมาณ 2 ปี เรียกว่าฟันแท้ ฟันน้ำนมของวัวมี 20 ซี่ ประกอบด้วย
-ฟันหน้าด้านล่าง 4 คู่ หรือ 8 ซี่ ไม่มีฟันหน้าด้านบน
-ฟันกราม หน้า 6 คู่ คือ ฟันกรามหน้าด้านบน 3 คู่ ฟันกรามหน้าด้านล่าง 3 คู่ เป็น 12 ซี่
เมื่อวัวโตขึ้นอายุได้ประมาณ 2 ปี ฟันน้ำนมจะทยอยหลุดออกไป และฟันชุดที่ 2 จะงอกขึ้นมาแทนที่ เรียกว่าฟันแท้ ซึ่งมี 32 ซี่ ประกอบด้วย
-ฟันหน้าด้านล่าง 4 คู่ หรือ 8 ซี่ ไม่มีฟันหน้าบน ไม่มีเขี้ยว
-ฟันกราม หน้า 6 คู่ คือ ฟันกรามหน้าด้านบน 3 คู่ ฟันกรามหน้าด้านล่าง 3 คู่ เป็น 12 ซี่
-ฟันกรามหลัง 6 คู่ คือ ฟันกรามหลังด้านบน 3 คู่ ฟันกรามหลังด้านล่าง 3 คู่ เป็น 12 ซี่
การงอกของฟันวัว จะงอกจากฟันหน้าคู่กลางก่อน และค่อย ๆ งอกตามกันไปทางด้านข้างจนถึงฟันกราม นอกจากวัวจะใช้ประโยชน์จากฟันในการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ผู้เลี้ยงยังสามารถใช้ประโยชน์จากฟันของโคในการประมาณอายุโคได้ โดยปกติ เมื่อโคคลอดออกมาจากท้องแม่ ฟันหน้าด้านล่างซึ่งเป็นน้ำนมคู่ที่ 1 จะโผล่พ้นเหงือกออกมาเล็กน้อย และภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน ฟันหน้าด้านล่างซึ่งเป็นฟันน้ำนมทั้ง 4 คู่จะงอกอย่างสมบูรณ์ จากนั้นฟันน้ำนมคู่อื่น ๆ จะงอกตามออกมา ฟันน้ำนมจะคงอยู่เช่นนี้ จนโคอายุประมาณ 2 ปี
เมื่อวัวอายุได้ประมาณ 2 ปี ฟันหน้าซึ่งเป็นฟันน้ำนมคู่ที่ 1 ก็จะหลุดและฟันหน้าซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่ 1ก็จะงอกขึ้นมาแทนที่ เมื่ออายุได้ประมาณ 3ปี ฟันหน้าซึ่งเป็นฟันน้ำนมคู่ที่ 2 ก็จะหลุดและฟันหน้าซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่ 2 ก็จะงอกขึ้นมาแทนที่ เมื่ออายุได้ประมาณ 4 ปี ฟันหน้าซึ่งเป็นฟันน้ำนมคู่ที่ 3 ก็จะหลุดและฟันหน้าซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่ 3 ก็จะงอกขึ้นมาแทนที่ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 ปี ฟันหน้าซึ่งเป็นฟันน้ำนมคู่ที่ 4 ก็จะหลุดและฟันหน้าซึ่งเป็นฟันแท้คู่ที่ 4 ก็จะงอกขึ้นมาแทนที่
ดังนั้นในการประมาณอายุวัว ระหว่างอายุ 2-5 ปี สามารถดูจากจำนวนฟันหน้าด้านล่าง ซึ่งเป็นฟันแท้ โดยนับจำนวนคู่ของฟันแท้และบวกอีก 1 ก็จะเป็นอายุของวัว เช่น พบฟันแท้ 2 คู่ คู่ที่ 3 และ4 ยังเป็นฟันน้ำนม ก็คือวัวอายุได้ 2+1 = 3 ปี หรือพบฟันแท้ 3 คู่ คู่ที่ 4 ยังเป็นฟันน้ำนม ก็คือวัวอายุได้ 3+1 = 4 ปี เป็นต้น แต่เมื่อวัวอายุเกิน 5 ปีไปแล้ว การประมาณอายุจะดูได้จากการสึกของฟัน ซึ่งสังเกตได้ไม่แน่นอนนัก ในการประมาณอายุสิ่งที่ควรระวังคือ จะต้องแยกฟันแท้ออกจากฟันน้ำนมให้ได้
ต่อมน้ำลายของวัว ที่สำคัญมีอยู่ 3 ต่อม ได้แก่ต่อมพาโรติด(Parotid),ต่อมแมนดิบูล่า(Mandibular)
และต่อมใต้ลิ้น(Sublingual) ต่อมน้ำลายทั้ง 3 ต่อม มีหน้าที่ผลิตน้ำลาย (Saliva) ซึ่งมีลักษณะใสและขุ่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 8.2 วัวสามารถผลิตน้ำลายได้มากถึงวันละ 40-80 ลิตร การผลิตน้ำลายจะเกิดมากหรือน้อย จะขึ้นกับชนิดของอาหารที่กิน ถ้าอาหารมีความแห้งมาก น้ำลายจะถูกผลิตออกมามาก เช่น วัวที่กินหญ้าแห้ง จะหลั่งน้ำลายออกมามากกว่าวัวที่กินหญ้าสด เป็นต้น ในระหว่างเคี้ยวเอื้อง น้ำลายจะถูกขับออกมาผสมกับอาหาร ช่วยทำให้อาหารเป็นก้อน ช่วยหล่อลื่นอาหารเวลากลืน นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วยลดความเป็นกรดที่เกิดจากการย่อยในกระเพาะ รูเมน(Rumen) เนื่องจากในการกลืนอาหาร วัวจะกลืนน้ำลายลงไปในกระเพาะด้วย จากการที่น้ำลายมี ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 8.2 จึงช่วยลดความเป็นกรดจากการย่อยในกระเพาะรูเมนได้เป็นอย่างดี
หลอดอาหาร (Esophagus)
หลอดอาหาร (Esophagus) ของวัวยาวประมาณ 90-105 เซนติเมตร มีหน้าที่ช่วยในการกลืนอาหารลงสู่กระเพาะอาหารส่วนรูเมน และช่วยในการสำรอกอาหารจากกระเพาะส่วนรูเมน ขึ้นมาในช่องปากเพื่อทำการเคี้ยวใหม่ที่เรียกว่า เคี้ยวเอื้อง พร้อมทั้งช่วยในการเรอ เพื่อขับแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร (Stomach)
กระเพาะอาหาร (Stomach) ของวัวเป็นแบบกระเพาะรวม (Compound stomach) มีขนาดใหญ่ประมาณ 3 ใน 4 ของช่องท้อง มักจะอยู่ค่อนไปทางซีกซ้ายของช่องท้อง กระเพาะอาหารของวัวประกอบ ด้วย 4 ส่วน คือ รูเมน(Rumen) เรตติคูลั่ม(Reticulum)โอมาซั่ม(Omasum)และอะโบมาซั่ม(Abomasum)
-รูเมนหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ขอบกระด้ง หรือ ผ้าขี้ริ้ว หรือกระเพาะหมัก เป็นกระเพาะที่มีขนาดใหญ่ เป็นกระเพาะส่วนแรกของวัว มีขนาดใหญ่มาก กินเนื้อที่ประมาณ 3 ใน 4 ของช่องท้อง ทอดตัวอยู่ทางด้านซ้ายของผนังช่องท้อง สำหรับใช้พักและหมักอาหารจำพวกหญ้า ตัวกระเพาะแบ่งออกได้เป็นหลายตอนเพื่อทำหน้าที่ในการบีบและขยาย ซึ่งมีผลทำให้เกิดการไหลเวียนของอาหารที่อยู่ในกระเพาะส่วนนี้ นอกจากนี้ ผนังด้านในของกระเพาะรูเมน ยังมีส่วนที่คล้ายขนยื่นออกมา เรียกว่าแปปพิลี่(Pappilae) ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของกระเพาะ กระเพาะรูเมนนี้ มีความจุประมาณ 80 % ของกระเพาะทั้งหมด หลอดอาหารจะมาเชื่อมต่อกับกระเพาะตรงรอยต่อของ กระเพาะรูเมนและเรตติคูลัม
-เรตติคูลัมหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่ากระเพาะรังผึ้ง อยู่ส่วนหน้าสุดและมีขนาดเล็ก กลม ด้านหัวและท้ายจะแบนเล็กน้อย ตอนบนของกระเพาะ จะมีส่วนที่ห่อตัวได้ เรียกว่าอีโซฟาเจียลกรูบ(Esophageal groove) ซึ่งจะใช้ประโยชน์เมื่อลูกโคดูดนม น้ำนมจะผ่านอีโซฟาเจียลกรูบไปสู่กระเพาะส่วนอะโบมาซัมได้ โดยไม่ต้องเข้าสู่กระเพาะอื่น ๆ โดยการห่อตัวของอีโซฟาเจียลกรูบ
เรตติคูลัมอยู่ระหว่างกระดูกซี่โครงซี่ที่ 7-11 ด้านหน้ามักจะอยู่ชิดปอดกับหัวใจ โดยมีกระบังลมคั่นไว้ ดังนั้นเมื่อโคกินสิ่งแปลกปลอมเช่น ลวด หรือตะปู เข้าไปในกระเพาะ ลวดหรือตะปู มักจะไปค้างที่กระเพาะส่วนนี้ เมื่อลวดหรือระปูแทงผ่านกระเพาะ มักจะไปถูกถุงหุ้มหัวใจ เนื่องจากกระเพาะส่วนนี้อยู่ใกล้หัวใจนั่นเอง กระเพาะส่วนนี้ มีความจุประมาณ 5 % ของกระเพาะทั้งหมด
-โอมาซัมหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่ากระเพาะสามสิบกลีบ รูปร่างคล้ายรูปไข่ ภายในเป็นกลีบหลายกลีบซ้อนกัน กลีบเหล่านี้จะช่วยในการกระจายอาหาร กระเพาะส่วนนี้อยู่ทางด้านขวาของตัววัว ระหว่างซี่โครงซี่ที่ 9-10 กระเพาะส่วนนี้ มีความจุประมาณ 7 % ของกระเพาะทั้งหมด
-อะโบมาซัม หรือกระเพาะแท้ หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าไส้เปรียว เป็นกระเพาะที่มีน้ำย่อยเพื่อใช้ในการย่อยอาหาร เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารของคน ส่วนปลายของกระเพาะนี้ จะต่อกับลำไส้เล็ก กระเพาะโอมาซัม มีความจุประมาณ 8 % ของกระเพาะทั้งหมด
สำไล้เล็ก (Small intestine)
สำไล้เล็ก (Small intestine) ของวัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ยประมาณ 5-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 เมตร แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือดูโอดินัม(Duodenum) , เจจูนัม(Jejunum) และอีเลี่ยม(Ileum)
สำไส้เล็กมีหน้าที่ในการย่อยอาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์ โดยเอ็นไซม์ที่สร้างจากตับอ่อน และสร้างจากลำไส้เล็กเอง พร้อมทั้งน้ำดีที่สร้างจากตับ โดยมีท่อมาเปิดที่ลำไส้เล็กส่วนต้น นอกจากนี้ ลำไส้เล็กยังมีหน้าที่ในการดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้ว โดยผนังด้านในของลำไส้เล็กจะมีส่วนที่ยื่นอออกมาคล้ายนิ้วมือ เรียกว่าวิลไล(Villi) ช่วยในการดูดซึมอาหาร
ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) แยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของซีคัม(Cecum) และโคลอน(Colon) ลำไส้ใหญ่มีขนาดใหญ่กว่าลำไส้เล็กแต่สั้นกว่า ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและสารอาหารบางอย่างที่ลำไส้เล็กดูดซึมยังไม่หมดกลับสู่ร่างกาย และเป็นทางขับถ่ายกากอาหารออกสู่นอกร่างกาย โดยผ่านออกทางไส้ตรง (Rectum) และทวารหนัก (Anus)
เมื่อวัวกินอาหาร โคจะรีบเคี้ยวอาหารเพื่อให้อาหารคลุกกับน้ำลายและรีบกลืนอาหารลงสู่กระเพาะอาหารทันที หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลาพักผ่อน วัวจะขยอกเอาอาหารที่กลืนเข้าไปแล้วนี้ ออกมาเคี้ยวใหม่ให้อาหารมีขนาดเล็กลง เรียกว่า การเคี้ยวเอื้อง (Rumination)
ดังนั้น การเคี้ยวเอื้อง (Rumination) คือ การขยอก (Regurgitation) ให้อาหารจากกระเพาะกลับเข้ามาในช่องปากเพื่อทำการเคี้ยวและคลุกเคล้ากับน้ำลายใหม่เพื่อให้อาหารมีขนาดเล็กลง โดยปกติโคจะใช้เวลาทำการเคี้ยวเอื้องวันละประมาณ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่า ซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของอาหารที่กินเข้าไป การเคี้ยวเอื้องจึงมีประโยชน์คือ ทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร จะสามารถทำการย่อยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การเคี้ยวเอื้อง ยังเป็นการกลืนน้ำลาย ซึ่งมีค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 8.2 ลงสู่กระเพาะอาหาร เป็นการช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
เมื่อวัวกลืนอาหาร อาหารจะผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะส่วนรูเมนและเรตติคูลัมจากนั้นอาหารจะถูกจัดเป็นชั้น ๆ ตามความหนาแน่นของอาหารเอง อาหารที่มีความหนาแน่นสูงจะจมอยู่ด้านล่างของกระเพาะรูเมน อาหารที่มีความหนาแน่นต่ำเช่นอาหารหยาบพวกหญ้า จะลอยขึ้น ใกล้ผิวด้านบนของรูเมน อาหารที่ลอยขึ้นนี้ จะเป็นส่วนที่ถูกขยอกออกมาเคี้ยวใหม่ เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะรูเมน อาหารจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในกระเพาะ ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย และ โปรโตซัว
-แบคทีเรีย
แบคทีเรียในกระเพาะรูเมน มีอยู่หลายชนิด จากการศึกษาพบว่ามี แบคทีเรียอยู่ในกระเพาะรูเมนถึง 63 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สร้างสปอร์ และไม่ต้องการก๊าซอ๊อกซิเจนในการเจริญเติบโต แบคทีเรียในกระเพาะรูเมนส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม ไม่มีหน้าที่ในการย่อยอาหาร เพียงแต่ปนเปื้อนจากอาหารเข้าไปในกระเพาะเท่านั้น แต่ก็มีแบคทีเรียบางพวกเหมือนกันที่ช่วยในการย่อยอาหาร เช่น Streptococcus bovis , Ruminococcus , Lactobacillus spp. เป็นต้น ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ส่วนอาหารที่เป็นพวกเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ถูกแบคทีเรียย่อยได้เหมือนกัน แต่ช้ามาก
-โปรโตซัว
โปรโตซัวที่พบในกระเพาะรูเมน ส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีขน (cilia) และบางพวกมีหนวด (flagella) ขนาดเล็ก พวกที่มีขน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ Holotrichs และ Oligotrichs โปรโตซัวส่วนใหญ่ที่อยู่ในกระเพาะรูเมน มีหน้าที่ในการย่อยพืช ความเร็วในการย่อยอาหารของจุลินทรีย์ในกระเพาะขึ้นอยู่กับอายุของพืชและใยลิกนินที่มีอยู่ในต้นพืชที่วัวกินเข้าไป ถ้าเป็นพืชอ่อนอายุน้อยมีลิกนินน้อยการย่อยจนสมบูณ์จะเกิดเร็ว แต่ถ้าเป็นพืชแก่มีลิกนินมากการย่อยจนสมบูรณ์จะเกิดได้ช้า
หน้าที่ของจุลินทรีย์ มีดังต่อไปนี้ คือ
1.ย่อยคาร์โบไฮเดรต รวมทั้งสารเยื่อใย เป็นกรดไขมันที่ระเหิดได้ (Volatile Fatty Acid , VFA) ซึ่งได้แก่ กรดน้ำส้ม (Acetic Acid) , กรดโพรไพโอนิก (Propionic acid) และกรดบิวทีริก (Buteric acid)
2.ย่อยโปรตีน เป็น เปปไทต์ , กรดอะมิโน และแอมโมเนีย
3.สร้างโปรตีนของจุลินทรีย์จากไนโตรเจน รวมทั้งคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
4.สร้างวิตะมินบี , เค และวิตะมินอื่น ๆ ยกเว้น วิตะมินเอ และอี
การย่อยคาร์โบไฮเดรตของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน ไม่ว่าจะเป็นการย่อยแป้ง เซลลูโลส หรือเฮมิเซลลูโลส ผลสุดท้ายจะได้ กรดไขมันที่ระเหิดได้ (Volatile Fatty Acid , VFA) ซึ่งได้แก่ กรดน้ำส้ม , กรดโพรไพโอนิก และกรดบิวทีริก และก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้อาจได้กรดแลคติก ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น กรดน้ำส้ม และ กรดโพรไพโอนิก ในที่สุด
การย่อยโปรตีนของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน
การย่อยโปรตีนของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน เป็นการย่อยสลายโซ่เปปไทต์ เป็นเปปไทต์ สั้น ๆ และสุดท้ายจะได้เป็นกรดอะมิโน แอมโมเนียและก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์
กรดอะมิโนบางส่วนที่เกิดขึ้นวัวจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย และอีกบางส่วนจุลินทรีย์จะนำไปใช้ในการเจริญขยายจำนวนของจุลินทรีย์ หรือเรียกว่าสร้างโปรตีนของจุลินทรีย์ขึ้นมาใหม่ เมื่อจุลินทรีย์ผ่านมาถึงลำไส้เล็กพร้อมกับอาหารที่ถูกย่อยแล้ว จุลินทรีย์ก็จะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนและถูกดูดซึมเข้าร่างกายโค เกิดประโยชน์อีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้สารพวกยูเรียหรือไนโตรเจนที่เกิดจากการย่อยหรือที่ปนมากับอาหาร จุลินทรีย์จะใช้เอ็นไซม์ยูรีเอส(Urease) ย่อยจนเกิดเป็นแอมโมเนีย จากนั้นจุลินทรีย์จะใช้แอมโนเนียเหล่านี้ในการเจริญและเพิ่มจำนวน หรือเรียกว่าสังเคราะห์เป็นโปรตีนของจุลินทรีย์ เมื่อจุลินทรีย์ผ่านมาถึงลำไส้เล็กพร้อมกับอาหาร ก็จะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนและถูกดูดซึมเข้าร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์อีกเช่นกัน ดังนั้น วัวจึงเป็นสัตว์ที่สามารถเปลี่ยนโปรตีนคุณภาพต่ำ เช่น ยูเรีย ไนโตรเจน หรือแอมโมเนีย ให้เป็นโปรตีนคุณภาพสูง เช่น เนื้อ นม ได้ โดยกลไกของจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร
การย่อยไขมันของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน
การย่อยไขมันของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนนั้น เริ่มจากถ้าเป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว จะถูกทำให้อิ่มตัวโดยการรวมกับไฮโดรเจนในกระเพาะรูเมน หรือที่เรียกว่าขบวนการไฮโดรจีเนชั่น(Hydrogenation) จากนั้นไขมันจะถูกย่อยสลายได้เป็นกรดไขมัน และกลีเซอรอล ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดโพรไพโอนิก ในที่สุด
การสังเคราะห์สารอื่น ๆ ในกระเพาะรูเมน
จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของวัว สามารถสร้างไวตามินได้เองหลายชนิด เช่น วิตามินบี และวิตามินเค จึงไม่ค่อยพบว่าวัวขาดวิตามินทั้ง 2 ชนิดนี้ ยกเว้นถ้าวัวขาดธาตุโคบอลท์ มักทำให้ขาดวิตามินบี 12 เนื่องจากโคบอลท์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างวิตามินบี12 ของจุลินทรีย์ นอกจากนี้ จุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารโคยังสามารถสร้างวิตามินได้อีกหลายชนิด แต่วิตามินที่จุลินทรีย์ในกระเพาะสร้างไม่ได้ ได้แก่วิตามินเอและอี จึงจำเป็นต้องเสริมวิตามินเอและอีในอาหารวัวเสมอ
การดูดซึมอาหารในกระเพาะรูเมน
สิ่งที่กระเพาะอาหารรูเมนสามารถดูดซึมได้ คือ กรดไขมันซึ่งประมาณ 80 % ถูกดูดซึมที่กระเพาะ รูเมน กรดบิวทิริก จะดูดซึมได้ดีกว่ากรดโพรไพโอนิก กรดโพรไพโอนิกถูกดูกซึมได้ดีกว่ากรดน้ำส้ม ถ้าความเป็นกรดของกระเพาะรูเมนมีมากขึ้นกรดไขมันจะถูกดูดซึมดีขึ้น นอกจากนี้กระเพาะรูเมนยังสามารถดูดซึม แอมโมเนีย กรดแลคติกไบคาร์บอเนต เกลือ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ คลอรีน และโพแทสเซี่ยมด้วย
สิ่งที่ดูดซึมผ่านกระเพาะรูเมนไม่ได้ คือ แคลเซี่ยม และอาหารที่ยังเป็นโมเลกุลใหญ่ อาหารที่ยังเป็นโมเลกุลใหญ่จะถูกย่อยสลายต่อที่กระเพาะอะโบมาซัมและลำไส้เล็ก พร้อมทั้งถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
การย่อยอาหารและการดูดซึมในกระเพาะอะโบมาซัมหรือกระเพาะจริง
กระเพาะอะโบมาซัม(Abomasum) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าไส้เปรี้ยว มีค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 3 มีเอ็นไซม์ซึ่งสามารถย่อยอาหารได้ เช่น เรนนิน(Rennin) เป็นเอ็นไซม์ที่ทำให้น้ำนมจับเป็นก้อน เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลผ่านลำไส้เล็กเร็วเกินไป สามารถถูกย่อยได้ที่ลำไส้เล็ก ซึ่งมีประโยชน์ในโคที่ยังกินนม นอกจากนี้ยังมีเอ็นไซม์เปปซิน ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนของจุลินทรีย์และโปรตีนจากอาหารข้นให้เป็นเปปไทต์และกรดอะมิโน พร้อมทั้งมีกรดเกลือ (HCl) ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต กระเพาะอาหารส่วนอะโบมาซัมนี้ดูดซึมอาหารได้น้อยมาก จนถือได้ว่าไม่มีการดูดซึมอาหาร
การย่อยและการดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็ก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ดูโอดินัมหรือสำไส้เล็กส่วนต้น เจจูนัมหรือลำไส้เล็กส่วนกลางและอีเลี่ยมหรือลำไส้เล็กส่วนปลาย น้ำย่อยจากลำไส้เล็กส่วนต้นและส่วนกลาง มักมีสภาพเป็นกลาง ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 7 ส่วนน้ำย่อยในลำไส้เล็กส่วนปลาย มักมีสภาพเป็นด่าง ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ประมาณ 8 อาหารที่ผ่านจากกระเพาะจะถูกย่อยสลายให้เป็นโมเลกุลเล็กลงที่ลำไส้เล็กนี้ พร้อมทั้งถูกดูดซึมไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย
น้ำย่อยในลำไส้เล็ก ได้มาจาก 3 แหล่ง คือ
1.ตับ สร้างน้ำดี และหลั่งออกมาสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ช่วยให้ไขมันแตกตัว
2.ตับอ่อน สร้างเอ็นไซม์ช่วยในการย่อย ได้แก่ ทริปซิน (Trypsin) ไคโมทริปซิน (Chymotrypsin) เปปติเดส (Peptidase) ช่วยในการย่อยโปรตีน ไลเปส (Lipase) ช่วยในการย่อยไขมัน และ อะไมเลส (Amylase) ช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรต
3.ลำไส้เล็ก สร้างเอ็นไซม์ช่วยในการย่อย ได้แก่ เปปทิเดส (Peptidase) ช่วยในการย่อยโปรตีน ไดแซกคาเลส , ซูเครส (Sucrase) , มอลเตส (Maltase) , แลคเตส (Lactase) ช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรต ไลเปส ช่วยในการย่อยไขมัน
อาหารที่ถูกย่อยแล้ว จะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เล็ก โดยเฉพาะลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) จะ ดูดซึมอาหารมากที่สุด รองลงมาคือ ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) และลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodinum) จะดูดซึมอาหารได้น้อยที่สุด แต่การย่อยอาหารจะเกิดที่ลำไส้เล็กส่วนต้นมากที่สุด รองลงมาคือส่วนกลาง และส่วนปลายตามลำดับ
การย่อยและการดูดซึมอาหารในลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือซีคัม(Cecum) และโคลอน(Colon) ลำไส้ใหญ่มีการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารน้อยมาก อาหารที่ถูกย่อยในลำไส้ใหญ่ มักเป็นการย่อยพวกเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสที่ยังหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ อาจมีย่อยโปรตีนและกรดไขมันที่ยังหลงเหลือในซีคัม แต่ส่วนใหญ่แล้ว หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ คือการดูดน้ำและเกลือแร่กลับเข้าสู่ร่างกาย อาหารที่ผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่ มักเป็นกากอาหารที่ผ่านการดูดซึมสารอาหารไปแล้ว กากอาหารที่มาถึงลำไส้ใหญ่มักเกิดการบูดเน่า ดังนั้นเมื่อโคถ่ายอุจจาระออกมาจึงมักมีกลิ่นเหม็น
เวลาที่ใช้ในการไหลผ่านของอาหารในทางเดินอาหาร ตั้งแต่กินจนขับออกทางทวารหนักปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน แต่ถ้าเป็นอาหารที่ไม่ต้องย่อยในกระเพาะรูเมน จะใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น