Wellcomescienemath(sp 5/3)Wellcome

Porifera


การย่อยอาหารของฟองน้ำ

        ฟองน้ำ   (Sponge) เป็นสัตว์ที่ไม่มีเนื้อเยื่ออย่างแท้จริง เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจาก ภาษาละติน - porusหมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือ คํ้าเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการตํ่าสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้นํ้าผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนํ้าทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในนํ้าจืด ตัวอ่อนของฟองนํ้านั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายนํ้าได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายนํ้าไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองนํ้าที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองนํ้าในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 5,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตนํ้าลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร)

ฟองน้ำ เป็นสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบช่องร่างแห (channel network) ซึ่งเป็นทางเดินอาหารที่ไม่ใช่ทางเดินอาหารที่แท้จริง แต่เป็นเพียงทางผ่านของนํ้าจากภายนอกเข้าสู่ภายในลำตัวฟองนํ้าเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยรูเปิดเล็ก ๆ เรียกว่า ออสเทีย (ostia) ทำหน้าที่เป็นทางนํ้าไหลเข้าสู่ลำตัวฟองนํ้า ส่วนทางนํ้าไหลออกจากตัวฟองนํ้าเรียกว่า ออสคิวลัม (osculum) ซึ่งเป็นรูที่มีขนาดใหญ่กว่าออสเทียและมักอยู่กลางลำตัว ที่ผนังด้านในของฟองนํ้ามีเซลล์พิเศษซึ่งมีแส้เซลล์เรียกว่า เซลล์โคเอโนไซต์ (choanocyte) โบกพัดแส้เซลล์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการไหลเวียนของนํ้าเข้าทางรูออสเทีย และไหลออกทางรูออสคิวลัม อาหารของฟองนํ้า ได้แก่ พวกแพลงก์ตอนที่ติดมากับนํ้า จะถูกเซลล์โคแอโนไซต์จะนำอาหารเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีการฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) และจะมีการสร้างถุงฟูดแวคิวโอล (Food vacuole) ขึ้นมาเพื่อย่อยอาหาร โดยไลโซโซม (Lysosome) จะปล่อยอนไซม์ไลโซไซม์ (Lysosyme) ออกมาย่อย แล้วส่งต่อให้กับเซลล์ที่เคลื่อนที่ได้คล้ายอะมีบา เรียกว่า เซลล์อะมีโบไซต์ (amoebocyte) ซึ่งจะทำหน้าที่ย่อยและนำอาหารที่ย่อยได้แล้วไปส่งให้กับ เซลล์อื่นๆ ทั่วตัวฟองนํ้

ภาพที่ 1  แสดงโครงสร้างภายในของฟองน้ำ  เซลล์โคแอโนไซด์ในการจับ
                           อาหารแบบฟาโกไซโทซีสย่อย  แล้วส่งอาหารต่ออะมีโบไซต์


ฟองน้ำ  มีการย่อยอาหารภายในเซลล์ (Intracellular digestion) เช่นเดียวกับ โพรโทซัว แต่ต่างกันที่ฟองนํ้าเป็นสัตว์หลายเซลล์และมีเซลล์เฉพาะคือ เซลล์อะมีโบไซต์ทำหน้าที่ในการลำเลียง อาหาร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การย่อยอาหารของฟองนํ้าก็เป็นแบบเดียวกับโพรโทซัวซึ่งเป็นการย่อยที่ไม่สลับซับซ้อนนัก
Porifera Feeding


      สมาชิก
นาย สมศักดิ์  คงชู  ม.5/3 เลขที่ 10
น.ส.ปัทมวรรณ  จิตรชวาล ม.5/3 เลขที่ 27
น.ส.ปาริชาติ  จิตรชวาล ม.5/3 เลขที่ 28

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น